“ความดัน” รู้ไว้ ชีวิตดี๊ดี


เชื่อไหมคะ ว่า โรคความดันสูง เป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้เป็นโรคไต ‼️

ที่สำคัญ ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้ป่วยไตวาย อีกด้วยค่ะ ‼️

.

.
ว่าแต่..ความดัน (Blood Pressure) เกี่ยวอะไรกับไต ?

แล้วความดันสูง มันร้ายแรงขนาดไหนกันแน่ ?

วันนี้อายมาสรุปง่าย ๆ ให้ฟังกันค่ะ ^^

 

แต่ก่อนจะไปดูกันต่อ ถ้าเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์กับคุณ 

หรือกับเพื่อน ๆ ของคุณ ช่วยแชร์กันไปได้เลยนะคะ อายจะขอบคุณมาก ๆ เลยค่ะ 🙂

 

presure2

 

สาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิด โรคความดันสูง ได้แก่

  • พันธุกรรม โอกาสจะสูงมากขึ้น ถ้ามีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
  • โรคเบาหวาน เพราะก่อให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดต่าง ๆ
  • โรคไตเรื้อรัง เพราะส่งผลถึงการสร้างเอนไซม์และฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิต
  • น้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน เพราะเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือด
  • การรับประทานอาหารเค็ม
  • การสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ ส่งผลให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือด
  • การดื่มแอกอฮอล์ เพราะส่งผลให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ และมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึง 50% ทีเดียว
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด

 

ขึ้นชื่อว่า “ความดันสูง” (Hypertension หรือ High blood pressure) หมายถึง

คนที่ความดัน มากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ขึ้นไป

โดย 140 (ตัวบน) หมายถึง แรงดันซิสโตลิค (SYS) หรือ ค่าความดันหัวใจบีบตัว

ส่วน 90 (ตัวล่าง) หมายถึง แรงดันไดแอสโตลิค (DIA) หรือ ค่าความดันหัวใจคลายตัว

 

👉🏻ค่าความดันปกติ จะอยู่ที่ 90-119 / 60-79 มม.ปรอท

👉🏻ถือเป็นผู้มีแนวโน้มที่จะเป็นความดันสูง 120-139 / 80-89 มม.ปรอท

👉🏻ความดันสูง ระดับ 1 ความดันอยู่ในช่วง 140-159 / 90-99 มม.ปรอท

👉🏻ความดันสูง ระดับ 2 ความดันโลหิตอยู่ในช่วง ตั้งแต่ 160/100 มม.ปรอทขึ้นไป

presure3


👉🏻ความดันสูง ระดับ 3 ความดันโลหิตตั้งแต่ 180/ 110 มม.ปรอท ขึ้นไป ถ้าสูงขนาดนี้
ต้องไปหาคุณหมอใน 24 ชั่วโมงเลยนะคะ เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ค่ะ

👉🏻ความดันสูง ระดับ 4 ความดันโลหิตตั้งแต่ 220/140 มม.ปรอท ขึ้นไป
ระดับนี้ต้องรีบพบคุณหมอแบบฉุกเฉินเลยค่ะ เพราะมีโอกาสเสียชีวิตสูง
จากการทำงานล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ สมอง และไต
**คำเตือน : การวัดความดัน ควรวัดซ้ำอีกครั้ง ให้ห่างกันประมาณ 5- 10 นาที

ถ้าเห็นว่าครั้งแรกวัดแล้วสูงผิดปกติ เพราะเครื่องวัดความดันเองก็มีความคลาดเคลื่อนได้ค่ะ ^^

 

เบาหวาน2

 

ที่สำคัญ ยิ่งปล่อยให้ความดันสูงนานเท่าไหร่ ไตก็จะยิ่งเสื่อมเร็วเท่านั้น

เนื่องจากว่าความดัน เป็นค่าที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือดที่สูบฉีดในร่างกาย

ถ้าความดันสูงนาน ๆ หลอดเลือดฝอยที่ไตก็จะทำงานหนัก

และยิ่งทำให้โปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะมากขึ้น
และถ้าในขั้นที่รุนแรง ก็จะเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดได้ค่ะ

 

โดยในระยะแรกๆ ผู้ป่วยความดันสูง มักจะยังไม่รู้ตัวว่าตัวเองเสี่ยงเป็นโรคไต เพราะไม่มีอาการแสดงออกมาแบบชัดเจน

นอกจากการตรวจปัสสาวะและตรวจค่าของเสียในเลือดอย่าง BUN และ Creatinine ที่สูงผิดปกติ

รวมถึง มีเม็ดเลือดขาว หรือไข่ขาวรั่วออกมาปนในปัสสาวะ ซึ่งก็เป็นเพราะหลอดเลือดที่ไตมีปัญหา

 

**ค่าโปรตีนรั่ว ที่เสี่ยงจะเป็นโรคไต คือ มากกว่า 1 กรัมต่อวัน

ด้วยความห่วงใย อายจึงแนะนำว่าทุกคน ควรจะวัดความดันอย่างสม่ำเสมอนะคะ

เพื่อจะได้ดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ ถ้าเห็นว่าความดันเริ่มสูงผิดปกติ

โดยเฉพาะคนที่เป็นเบาหวาน และผู้สูงอายุ จะเสี่ยงเป็นโรคไตมากกว่ากลุ่มอื่น

presure1

 

ส่วนคนที่เป็นโรคไต จากความดันสูงแล้ว คุณหมอก็จะจ่ายยาให้ทาน บางคน 1-2 ตัว

บางคนหลายตัว ก็แล้วแต่อาการและการตอบสนองต่อยาของแต่ละคนนะคะ

 

แต่ประเด็นสำคัญเรื่องยา ที่มีหลายคนสงสัย ว่า กินยาความดันไปนาน ๆ ไตไม่เสื่อมเร็วขึ้นหรอ ?

 

อายขอให้คำตอบว่า ยาลดความดัน ไม่ได้ทำให้ไตเสื่อมมากขึ้นนะคะ

ตัวยาเอง อาจจะมีผลข้างเคียงอยู่บ้าง แต่ไม่ได้อันตรายขนาดนั้นค่ะ

 

(เรื่องของการซื้อยามาทานเองที่คุณหมอไม่ได้สั่ง กับการทานพวกยาชุด

ยาหม้อจะเป็นตัวเร่งให้ไตเสื่อมมากกว่าอีกนะคะ)

 

สุดท้ายนี้ อายก็อยากจะฝากไว้ว่า.. อย่าลืมดูแลตัวเองและคนที่คุณรักนะคะ เพราะแม้จะเริ่มต้น

จากความดันสูงเพียงอย่างเดียว แต่ก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้อีกเยอะเลย

ดังนั้น ถ้าเราป้องกันไว้ก่อนก็จะปลอดภัยที่สุดเลยค่ะ ^^

 

Tips : เคล็ดลับลดความดันโลหิตสูง

1. เลือกทานอาหารเค็มน้อย และไขมันน้อย

2. งดบุหรี่ สุรา

3. ออกกำลังกาย ลดน้ำหนักส่วนเกิน

4. กินยาให้ครบโดสและสม่ำเสมอ

5. รักษาสุขภาพจิตให้ดี ไม่เครียด เช่น สวดมนต์ ทำสมาธิ

โยคะ รำมวยจีน ร้องเพลง เล่นดนตรี หรือทำงานอดิเรกต่าง ๆ เป็นต้น

อ่านจบแล้ว อย่าลืมแชร์บทความนี้ ให้คนที่คุณรักกันด้วยนะค๊าา ขอบคุณมากค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง :
หนังสือ กลเม็ดเคล็ดลับ ทำอย่างไรไตไม่วาย โดย สปสช.

www.phyathai.com

haamor.com

medthai.com

Leave a Comment