ฟอสฟอรัส เรื่องใหญ่ที่ผู้ป่วยโรคไตต้องรู้

ฟอสเฟตสูง หมายความว่ายังไง ?

“ฟอสฟอรัส หรือ ฟอสเฟต” เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ช่วยสร้างกระดูก และช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ดังนั้น

ปริมาณฟอสฟอรัสจึงมีผลกับกระดูกโดยตรง และที่สำคัญมักเจอได้ในอาหารเกือบทุกอย่าง (ที่อร่อย ๆ) โดยเฉพาะพวกนม ธัญพืช

ทุกชนิด ช็อคโกแลต ขนมขบเคี้ยว ไข่แดง เป็นต้น

 

คำว่า ฟอสเฟตสูงหรือต่ำ เราสามารถดูได้จากใบผลเลือด (จะอยู่ในหมวดเกลือแร่ ชื่อว่า Phosphorus หรือตัวย่อ P) ซึ่งถ้าใครที่ค่า

สูงเกิน 5.5 mg./dL. ขึ้นไป ก็จะถือว่าสูง จำเป็นต้องควบคุมอาหารประเภทฟอสฟอรัสให้เข้มขึ้น เพื่อให้ค่ากลับมาอยู่ในเกณฑ์

แต่ถ้าค่านี้ต่ำกว่า 3.5 mg./dL. ก็ไม่ดีเช่นกัน ดังนั้นเราควรท่องไว้ให้ขึ้นใจเลยนะคะว่า อะไรที่มากไป หรือน้อยไป ก็ไม่ดีทั้งนั้นล่ะค่ะ

 

ทำไมผู้ป่วยโรคไต ต้องคุมฟอสฟอรัส ?

นั่นก็เพราะ สำหรับคนปกติ ไตจะเป็นตัวปรับสมดุลเกลือแร่ในร่างกายให้เหมาะสม สารอะไรที่มากไป ไตจะขับออกมาก เพื่อให้ร่าง

กายมีค่านั้นพอเหมาะ หรือสารอาหารอะไรที่น้อยไป ก็จะแจ้งเตือนด้วยอาการต่าง ๆ เพื่อให้เรารู้ตัวและเสริมการกินอาหารนั้นเพิ่มขึ้น

นั่นเอง แต่ประเด็นใหญ่ ก็คือ พอเจ้าตัวปรับสมดุลอย่างไตเสื่อมลง การปรับสมดุลแบบนี้จึงทำได้ยากขึ้น แถมประสิทธิภาพการขับ

ของเสียให้ออกไปจากร่างกายก็ไม่ได้ดีเท่าที่ควร  เราจึงต้องหันมาควบคุมการกินอาหารที่เข้าไปแทนนั่นเอง หรือเรียกง่าย ๆ ก็คือ

การควบคุมอาหาร = ช่วยให้ไตทำงานง่ายขึ้น จะได้เสื่อมช้าลงค่ะ

 

ฟอสฟอรัส5
ขอบคุณภาพ คลินิครักไต รพ.อ่างทอง

 

คุมฟอสฟอรัสในแต่ละวันเท่าไหร่ ?

อายขอสรุปง่าย  ๆ จากข้อมูลงานวิจัย วารสาร และหนังสือ ฟอสฟอรัสมี 3 วิธี คือ 1.ฟอกเลือด 2.ทานยาจับฟอสเฟต 3.คุมอาหาร

ซึ่งบางคนอาจต้องใช้ทั้ง 3 วิธีเลย บางคน 2 หรือบางคน 1 ก็แล้วแต่เคสนะคะ แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่กำลังฟอกไต มักจะทำทั้ง 3

แบบเลยค่ะ **ใน 1 วันร่างกายต้องการฟอสฟอรัสประมาณ 800-1000 mg. (เฉลี่ยต่ออาหาร 1 มื้อ ประมาณ 300 มิลลิกรัม)

อย่าเพิ่ง งง กันนะคะ ว่าแล้วจะรู้ได้ไงว่าที่เรากินอยู่ มีฟอสฟอรัสไหม เพราะอายมีวิธีที่ง่ายกว่านั้น เราไปดูกันต่อเลยดีกว่าค่ะ

 

จะรู้ได้ไงว่าอาหารอะไรมีฟอสฟอรัส และมีเท่าไหร่ ?

ปกติแล้วฟอสฟอรัสจะอยู่ในอาหาร 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

  1. กลุ่มอาหารธรรมชาติ : ยิ่งถ้าเป็นกลุ่มที่มีโปรตีนสูง ฟอสฟอรัสก็มักสูงตามไปด้วย ยกเว้นไข่ขาวที่โปรตีนสูงแต่ฟอสฟอรัสต่ำ พวกนี้ถ้าเรากินเข้าไปแล้ว ร่างกายจะดูดซึมไปใช้ได้ 40-60% หรือประมาณครึ่งนึงจากที่กินเข้าไปเท่านั้น
  2. กลุ่มอาหารปรุงแต่งหรือใช้สารสังเคราะห์ : เช่น สารกันบูด สารปรุงรสต่าง ๆ  สารปรับแต่งคุณสมบัติของอาหาร (เช่น สารให้ความข้นหนืด สารให้ความควตัว สารแต่งกลิ่นแต่งรส เป็นต้น) แต่พวกนี้ถ้าเรากินเข้าไปแล้ว ร่างกายจะดูดซึมไปใช้ได้ 90% ขึ้นไปหรือเกือบหมดเลยทีเดียว

กรณีที่ในฉลากโภชนาการไม่มีข้อมูลฟอสฟอรัสบอก เราสามารถดูได้จากส่วนผสมแทนได้ค่ะ เช่น สารปรุงแต่งอาหารที่มีคำว่า

“ฟอสเฟต (phosphate)” หรือ “ฟอส (phos)” ในชื่อ ส่วนถ้าพลิกไปดูแล้วไม่มีบอกไว้ ก็แนะนำดูที่ประเภทของอาหารนั้นว่าน่าจะมี

ส่วนผสมที่ฟอสฟอรัสสูงไหม แล้วทานในปริมาณที่เหมาะสมหรือถ้าไม่มีข้อมูลเลย ไม่แน่ใจ ก็แนะนำทานน้อยเข้าไว้จะปลอดภัยที่

สุดค่ะ

 

*เมื่อฟอสฟอรัสสูง ทำไงดี >> ควรเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง โดยอาการที่บ่งบอกว่าสูง ได้แก่

-ผิวจะคล้ำขึ้น

-รู้สึกคันยิบ ๆ ตามตัว จนรู้สึกรำคาญ

-ถ้าเป็นนาน ๆ เข้า กระดูกก็จะเปราะและหักได้ง่าย

-ร้ายแรงที่สุดคือ ทำให้เส้นเลือดในร่างกาย รวมถึงเส้นฟอกไตอุดตันได้

 

คำเตือน หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินใช่ไหมคะ ว่าถ้าฟอสฟอสฟอรัสสูงนาน ๆ อาจทำให้เราต้องเข้าห้องผ่าตัดได้ เพราะว่าเมื่อไหร่ที่

ฟอสฟอรัสสูงนาน มีแต่เพิ่มขึ้นๆ ค่าพาราไทรอยด์ก็จะสูงตามไปด้วย แล้วพอพาราไทรอยด์สูงระดับนึง แบบว่าคุณหมอรักษายังไงก็

ไม่ยอมลง ก็จำเป็นที่จะต้องผ่าออก

 

ซึ่งเมื่อผ่าออกไปแล้วก็ใช่ว่าจะหายนะคะ เพราะว่าถ้าเรายังควบคุมไม่ได้อีก ก็มีโอกาสจะถูกผ่าออกได้อีก (ตัวเรามี 4 ต่อมค่ะ) แถมที่

สำคัญ ตอนที่ผ่าตัดออกไปแล้ว เมื่อไหร่ที่ค่าฟอสฟอรัสต่ำเกินไป เราก็ต้องเอาต่อมที่เคยผ่าออก กลับเข้ามาฝังอยู่ในตัวเราอีกครั้ง

(ทางรพ.จะทำการเก็บรักษา โดยการแช่ต่อมของแต่ละคนไว้นะคะ ไม่ได้เอาไปทิ้งที่ไหน)

 

กลายเป็นว่า บางคนต้องผ่าออก และฝังเข้าไปใหม่ วนกันไป 4-5 รอบเลยล่ะค่ะ เพราะงั้นอายคิดว่าถ้าเราจะต้องเจ็บตัวเยอะขนาดนี้

สู้พยายามควบคุมด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องผ่านประสบการณ์ผ่าตัดถี่แบบนี้ชีวิตจะแฮปปี้กว่านะคะ ^^

 

*เมื่อฟอสฟอรัสต่ำ ทำไงดี >> กินอาหารที่มีฟอสฟอรัสเข้าไปเพิ่มได้ เพื่อให้ค่าออกมาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี (กินระยะสั้นๆ ดูตามการ

เปลี่ยนแปลงของผลเลือด) เพราะฟอสฟอรัส ก็ถือว่ายังมีประโยชน์กับร่างกายอยู่ คือ ช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด

ต่าง ๆ ได้ค่ะ

 

เทคนิคกินของอร่อยยังไงให้ฟอสเฟตไม่สูง ?

แนะนำเปลี่ยนอาหาร เพื่อลดฟอสฟอรัสลง ดูตัวอย่างอาหารที่กินได้และควรเลี่ยง ในภาพน่ารัก ๆ นี้ได้เลยค่ะ

**อายแนะนำเซฟภาพเก็บไว้เลย มีประโยชน์แน่นอนค่าา

ฟอสฟอรัส4

 

ฟอสฟอรัส2

ฟอสฟอรัส3

 

แถมท้าย เทคนิคการกินยาจับฟอสฟอรัสที่หลายคนอาจยังไม่รู้

ยาจับฟอสเฟตมีหลายกลุ่ม หลายประเภท แต่ตัวที่ฮิต ๆ จะเป็น กลุ่มมีแคลเซียม และกลุ่มที่ไม่มีแคลเซียม แต่ทั้ง 2 กลุ่มนี้ก็ทาน

เหมือนกัน คือ

1.เคี้ยวหลังกินข้าวคำแรกเข้าไป พอเคี้ยวยาเสร็จก็กินข้าวคำถัดไปได้เลยค่ะ เราจะได้รู้สึกถึงรสชาติยาไม่นาน ความสุขในการกิน

อาหารจะได้กลับมาไวไว เพราะอายเข้าใจว่ารสยามันไม่อร่อยหรอกค่ะ

2.อีกเทคนิคนึงทีเห็นผู้ป่วยทำกันเยอะก็คือ การโรยยาลงไปในข้าว แล้วกิน แต่อายคิดว่าวิธีนี้ก็ลำบากอยู่เหมือนกัน เพราะโอกาสที่

อาหารจะเสียรสชาติไปด้วยก็มีสูงค่ะ

สรุป

อ่านมาจนถึงตรงนี้ อายเชื่อว่าทุกคนคงเข้าใจมากขึ้นแล้วนะคะว่า ทำไมเป็นโรคไตต้องคุมอาหาร ทำไมต้องคุมฟอสฟอรัสด้วย ทั้ง ๆ

ที่มีแต่ของโปรด ทำไมต้องกินยาจับฟอสเฟตด้วยน่าเบื่อ แถมไม่อร่อย แล้วจะทำยังไงให้ความสุขในการกินยังอยู่กับเรา นั่นคือการ

เปลี่ยนอาหารที่กิน แล้วเลือกอาหารที่กินได้อย่างสบายใจนั่นเอง

 

สุดท้ายนี้ อายขอแชร์จากประสบการณ์ตรงที่ดูแลผู้ป่วยโรคไตมาว่า 10 ปี (แฟนอายเองค่ะ) เลยนะคะ ว่าเราไม่จำเป็นต้องยอมไม่กิน

อะไรเลย ไม่แตะอะไร เลยจนร่างกายทรุดโทรม จากการคิดว่าเราถูกห้ามไปหมด กินอะไรก็ไม่ได้ เพียงแต่ว่าหัวใจสำคัญ คือการ

เลือกอาหารที่เหมาะกับโรคที่เป็น ขึ้นกับปริมาณที่เรากินเข้าไปมากกว่าค่ะ ดังนั้นอายเลยเชื่อว่าถึงจะป่วยเราก็สามารถที่จะใช้ชีวิต

อย่างมีความสุขได้ค่ะ ^^

อ่านจบแล้วอย่าลืมแชร์ให้เพื่อน ๆ ด้วยนะค้าา

2 thoughts on “ฟอสฟอรัส เรื่องใหญ่ที่ผู้ป่วยโรคไตต้องรู้

  1. น้ำเต้าหู้ทำจากถั่วเหลือง
    ตระกูลถั่วทุกชนิดฟอสเฟตสูง
    ใช่หรือไม่ครับ

  2. มีประโยชน์มากเลยครับสำหรับคนที่กำลังเป็นโรคไต ขอเป็นกำลังใจสร้างสรรผลงานออกมาเยอะนะครับ

Leave a Comment