3 วิธีทำยังไงไม่ให้บวม สำหรับผู้ป่วยฟอกไต

เป็นโรคไตทำไมถึงบวม ?

บวมแล้วอันตรายแค่ไหน น่ากลัวหรือเปล่า ?

ทำยังไงถึงจะไม่บวม ?

 

อาการบวมน้ำ และอาการน้ำท่วมปอด เป็นอะไรที่ผู้ป่วยโรคไต มีปัญหากันเยอะมากค่ะ

หลาย ๆ คนชอบถามอายว่า ทำไมถึงบวมน้ำ ทั้งที่ดื่มน้ำไม่เยอะ ?

แล้วน้ำท่วมปอดคืออะไร เกิดขึ้นได้ยังไง อันตรายแค่ไหน ?

 

บทความนี้ อายจะบอกค่ะว่า..การบวมนี้ มันมีที่มาที่ไป และที่สำคัญ ไม่ใช่ว่าเป็นโรคไตแล้วจะบวมกันทุกคน แต่ขึ้นการการดูแลตัว

เองด้วยนะคะ หลายคนเป็นโรคไตมาสิบ ๆ ปี แต่ไม่เคยน้ำท่วมปอดสักครั้งเลยก็มี เพราะฉะนั้น อาการบวมน้ำ จึงสามารถป้องกันได้

แน่นอนค่ะ

 

แต่ก่อนจะไปดูกันต่อ ถ้าเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์กับคุณ 

หรือกับเพื่อน ๆ ของคุณ ช่วยแชร์กันไปได้เลยนะคะ อายจะขอบคุณมาก ๆ เลยค่ะ 🙂

 

edema3

 

ทำไมเป็นโรคไต ถึงบวมน้ำกันเยอะ ?

เป็นเพราะไตเราเสื่อม จึงไม่สามารถขับน้ำและของเสียออกไปได้เหมือนคนปกติทั่วไป เวลาได้รับน้ำเข้ามาในร่างกายมาก

เกินกว่าที่ไตจะขับออกไปได้ (ไตขับน้ำออกไปไม่ไหว) น้ำส่วนเกินนี้ก็จะไม่มีที่ไป เลยวิ่งเข้าไปขังอยู่ในปอด ซึ่งเรียกว่าน้ำท่วมปอด

ทำให้เรามีอาการหายใจหอบเหนื่อย ร่างกายบวมน้ำ จนบางคนบวมถึงขั้นหมดสติ หรือเสียชีวิตได้เลย

 

ลองนึกตามนะคะ  ว่า ปอดเราก็เป็นเหมือนฟองน้ำ 2 ชิ้น ที่ปกติจะเอาไว้แลกเปลี่ยนออกซิเจน เวลาเราหายใจเข้า-ออก

แต่พอเราบวม หรือเกิดภาวะน้ำท่วมปอด ก็หมายความว่า มีน้ำไหลเข้าไปอยู่ในฟองน้ำนั้นแทน ทำให้ร่างกายไม่ได้รับออกซิเจน

นี่ล่ะค่ะ ตัวการที่ทำให้เราหายใจไม่ออก !!

 

**อาการบวมน้ำเบื้องต้นที่สังเกตได้**

อึดอัด นอนราบไม่ได้ หายใจไม่ออก รู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา ความดันสูง

สำหรับผู้ป่วยฟอกไต ถ้าน้ำหนักก่อนฟอกมาเยอะ หรือมีอาการบวมเยอะ อาจจะต้องให้ออกซิเจนกันระหว่างฟอกกันเลยล่ะค่ะ

 

ฟังดูทรมานกันมากเลยใช่ไหมคะ ? เพราะงั้น เรามาป้องกันไม่ให้เหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นกับตัวเอง หรือคนที่เรารักกันเลยนะคะ

 

edema4

 

3 วิธีป้องกันการบวมน้ำ…

 

1 เลือกอาหารโซเดียมต่ำ

เพราะเวลาทานอาหารที่มีโซเดียมสูง มักจะทำให้เราอยากดื่มน้ำมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว หรือเราอาจจะรู้ตัว และดื่มน้ำครั้งละไม่เยอะ แต่

หากดื่มถี่ ๆ ก็ทำให้บวมน้ำขึ้นมาได้เช่นกัน เพราะเวลาเรากินโซเดียมเข้าไป โซเดียมจะไปดึงน้ำในเลือดออกมาอยู่นอกหลอดเลือด

สังเกตได้จากเวลาเรากดลงไปที่ผิวแล้วจะเกิดการบุ๋ม/ยุบลงไป นั่นเอง

 

ดังนั้น การเลือกอาหารโซเดียมต่ำ จึงเป็นทางเลือกที่ดี ที่จะช่วยให้เราไม่อยากกินน้ำมากขึ้นโดยไม่จำเป็น ช่วยให้ความดันไม่สูง

(กินเค็มมาก ความดันก็จะสูงตามไปด้วย) และยังไม่ทำให้ไตทำงานหนักขึ้นอีกด้วย

 

ตัวอย่างอาหารโซเดียมสูง ที่เป็นมื้อเช้ายอดฮิต..

edema2

 

 

2 เลือกดื่มน้ำเปล่าเป็นหลัก

โดยเฉพาะถ้าเป็น ผู้ป่วยระยะฟอกไตจะบวมจากการดื่มน้ำได้ง่ายกว่าระยะอื่น เพราะมีปัสสาวะน้อยมาก ๆ หรือไม่มีปัสสาวะแล้ว เวลา

ดื่มน้ำเข้าไปเท่าไหร่ ก็สะสมอยู่เท่านั้น จึงบวมได้ง่ายมาก ต้องจำกัดน้ำอย่างเคร่งครัด **วันนึงประมาณ 1 ลิตร เท่านั้นเอง

 

ส่วนระยะก่อนฟอกไตเอง ก็ยังดื่มน้ำได้มาก สำหรับข้อนี้ก็อาจไม่เป็นปัญหาที่น่ากังวลเท่าไหร่ แถมบางคนยังได้รับยาขับปัสสาวะมา

ทาน เพื่อช่วยลดอาการบวม เพราะงั้น การดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ จึงถือว่าเป็นการลดบวม แถมยังช่วยให้ไตไม่ทำงานหนักด้วยนะคะ

 

edema5

 

3 ทานโปรตีนให้เหมาะสม

เพราะถ้าโปรตีนในเลือดต่ำเกินไป ก็ทำให้บวมน้ำได้เช่นกัน เนื่องจากโปรตีนจะเป็นตัวช่วยเอาน้ำที่เรากิน เข้าไปอยู่ในเลือดของเรา

ไม่ให้ออกมาวิ่งเพ่นพ่านอยู่นอกเส้นเลือด โดยโปรตีนคุณภาพดีที่สุด ก็คือ โปรตีนที่มีของเสียน้อย ย่อยง่าย ไม่ติดมัน

เช่น ไข่ขาว เนื้อปลา เนื้อไก่ เนื้อกุ้ง เป็นต้น

 

วิธีดูว่า เราทานโปรตีนน้อยเกินไปไหม คำนวณได้จาก

ผู้ป่วยไตระยะ 1-4 และระยะ 5 ที่ยังไม่ฟอกไต : น้ำหนักตัว x 0.6 หรือ 0.8 = โปรตีน (g.) ที่ควรได้รับต่อวัน

ผู้ป่วยไตระยะ 5 ที่ฟอกไตทั้งผ่านเครื่องและหน้าท้อง : น้ำหนักตัว x 1.2 หรือ 1.4 = โปรตีน (g.) ที่ควรได้รับต่อวัน

 

ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยระยะก่อนฟอกไต มักจะบวมจากโปรตีนต่ำนี่ล่ะค่ะ เพราะว่าระยะนี้จำกัดการทานโปรตีน จึงมีโอกาสที่จะกินน้อย

เกินไป ในขณะที่ผู้ป่วยฟอกไตต้องทานโปรตีนให้เยอะ ๆ จึงไม่ค่อยต่ำ ยกเว้นว่าจะเบื่ออาหาร หรือทานไม่ค่อยได้ ก็ทำให้โปรตีนไม่

เพียงพอได้เช่นกัน

edema6

 

สุดท้ายนี้ สิ่งที่อายอยากจะฝากไว้ก็คือ ความอดทนที่จะยับยั้งชั่งใจ เป็นสิ่งสำคัญมากนะคะ เพราะต่อให้ใครมาบอกอะไรเรามาก

แค่ไหน ถ้าเราไม่อดทนที่จะทำมันอย่างจริงจัง ก็ไม่มีใครช่วยได้เลย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าเราพยายามที่จะดูแลตัวเองให้ดี มันอาจจะ

ยากหน่อยในช่วงแรก ๆ จะต้องปรับตัวเยอะ แต่..รางวัลของความอดทน ย่อมคุ้มค่าแน่นอนค่ะ ^^

 

อ่านจบแล้ว อย่าลืมแชร์บทความนี้ ให้คนที่คุณรักกันด้วยนะค๊าา ขอบคุณมากค่ะ

 

ข้อมูลอ้างอิง :

www.praram9.com

www.siamhealth.net

www.bumrungrad.com

เพจ ดูแลผู้ป่วยฟอกไตง่ายนิดเดียว กับ Nurse Mali

เพจ ลดเค็มลดโรค

คู่มือผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

 

Leave a Comment